วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์


 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไรบ้าง จงอธิบาย 
ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้เองเฉพาะกรณี

2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
          - ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
            นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
           - ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
             มุ่งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆคน นิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะให้บริการข้อมูลต่างๆที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
            - ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
             มักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือสมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

3. Symbian OS คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด
ตอบ  เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถหลากหลายไม่ใช่เพียงแค่รับ-สายพูดคุยกันในแบบทั่วไปได้อย่างเดียว แต่ยังทำงานอย่างอื่นได้ เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ส่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น

4. โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรกับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์
ตอบ  เป็น โปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับป้องกันปัญหาเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งโดย ปกติมักจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายหรือการทำงานกับบุคคลอื่น หลายๆคน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆเกิด ขึ้นหรือไม่ และจะแก้ปัญหาหรือกำจัดไวรัสดังกล่าวได้อย่างไร ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยและราบรื่นมากยิ่งขึ้น

5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใด
ตอบ  ควรใช้โปรแกรมประเภทบีบอัดไฟล์ ซึ่งจะทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และเก็บไฟล์เป็นชิ้นงานเดียวกัน เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถแตกหรือแยกไฟล์ออกมาภายหลังได้ ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, WinZip เป็นต้น

6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
ประกอบ 3 โปรแกรม
ตอบ  โปรแกรมประเภท word processing หรือโปรแกรมประมวลคำที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันเป็นอย่างดี พอจะยกตัวอย่าง 3 โปรแกรมดังนี้
          1. Microsoft Word
          2. Sun StarOffice Writer
          3. Pladao Office Writer

7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ Microsoft Office, Adobe CS, Macromedia Studioเป็นต้น ซึ่งทำให้การใช้งานมีความง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะโปรแกรมที่นำเอามารวมกันนั้นจะมีคุณสมบัติที่จัดอยู่ในกลุ่มการทำงานแบบเดียวกัน อีกทั้งยังทำให้มีราคาถูกลงกว่าการแยกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้ด้วย

8.นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใด
ตอบ  ควร ใช้โปรแกรมประเภทตารางคำนวณ ซึ่งสามารถสร้างรายงานการรับ-จ่ายเงินประจำวันอย่างง่ายๆได้ โดยป้อนข้อมูลและตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ต้องการลงไปในแผ่นตารางคำนวณนั้นและ สามารถหาผลลัพธ์อย่างง่ายๆพร้อมทั้งพิมพ์รายงานสรุปยอดหรือเปรียบเทียบค่า ใช้จ่ายต่างๆออกมาเป็นกราฟได้

9. Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ  เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตามต้องการ สามารถตอบโต้กันได้ได้ด้วยข้อความและคนอื่นๆในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นได้พร้อมๆกัน เหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะทั่วไป นอกจากนั้นยังสามารถเลือกสนทนาเพียงรายคนหรือเฉพาะตัวได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ instant messagingอาจมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างจาก IRC บ้างคือ มุ่งเน้นให้ใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า

10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ  เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงานต่างๆเข้าไปได้มากกว่า ทำให้ผู้เข้าชมการนำเสนอดังกล่าวรับรู้ผลิตภัณฑ์หรือสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า

11.ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ  โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง

12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
ตอบ  Web application ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างได้ดังนี้
          1. Web base mail
             เป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานรับ-ส่งอีเมล์ผ่านเว็บไซท์ที่ให้บริการ โดยเข้าไปใช้งานได้ตลอดเวลาและทุกๆสถานที่ สะดวกต่อการใช้งานเพราะไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอ่านเมล์ เพียงแค่ป้อนชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเข้าไปในระบบ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว
           2. Bulletin board
               เป็นโปรแกรมกระดานข่าว ที่มีไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ หรือสอบถามข้อมูลที่สนใจ โดยจะมีคนมาตอบคำถามหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยจะแสดงคำถามหรือหัวข้อที่มีการโพสต์ไว้ให้ผู้เข้าชมเห็นหรืออ่านได้ทุกคน บางระบบอาจจะมีการสงวนสิทธิ์เฉพาะสมาชิกได้
           3. Guest book
              เป็นโปรแกรมบนเว็บอีกประเภทหนึ่ง มักใช้สำหรับการลงบันทึกการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซท์นั้นๆคล้ายกับกระดานข่าว แต่ไม่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่มุ่งเน้นให้เขียนข้อความถึงเจ้าของเว็บไซท์หรือทีมงานนั้นๆมากกว่า

13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการ website เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงาน
ตอบ  งานทางด้านการออกแบบและจัดการ website อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเพื่อช่วยเหลือการทำงานดังต่อไปนี้
         1. โปรแกรมสำหรับออกแบบเว็บ
             เพื่อใช้สำหรับการสร้างรูปแบบของเว็บเพจที่ต้องการ รวมถึงการจัดวางโครงสร้างทั่วไปของแต่ละเว็บเพจ โดยสามารถเลือกใช้โปรแกรมที่มีอยู่ได้ตามความต้องการ ที่รู้จักกันดี เช่นMicrosoftFrontpage, Macromedia Dreamweaver, NetObject Fusion เป็นต้น
         2. โปรแกรมสำหรับส่งถ่ายข้อมูล
              เพื่อให้การส่งข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการหรือ web server สามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อาจเลือกใช้โปรแกรมที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Cute_FTP, WS_FTPเป็นต้น
         3. โปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไป
             ใช้สำหรับการตกแต่งภาพที่จะนำไปใช้เผยแพร่บนเว็บไซท์ให้มีความสวยงามและน่าสนใจ  อาจเลือกใช้จากโปรแกรมที่มีความสามารถหลากหลายและเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Adobe Photoshop
เป็นต้น

14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ   คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือพัฒนาต่อได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ดที่ได้มานั้นจะมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางการค้าแต่อย่างใด

15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ  ภาษาการเขียนโปรแกรมกลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียงแค่หยิบหรือวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมอาจจะรู้เพียงแค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นคอยจัดการแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียนโปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู้พื้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทันที

16 จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน  มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อม  ทั้งอธิบาย
ประกอบ
ตอบ  ตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ไปใช้ เช่น

1.ระบบหุ่นยนต์
   โดยการสร้างความรู้และการจำไว้ในตัวหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสั่งการให้ทำงานบางอย่างที่ต้องการ
2.ระบบการสั่งงานด้วยเสียง
   อาศัยหลักการป้อนข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์หรือป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

งานในชั่วโมง บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

งานในชั่วโมง บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


1.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
          1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
             คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
- หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
       - หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
       - หน่วยความจำหลัก
       - หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
       - หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit ) 
       - หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะ ไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็บข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความ จำหลักมาก
          2.ซอฟต์แวร์ (Software)
             คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา  ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
                  - ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
                  - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
         ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

          3.บุคลากร (Peopleware)
             เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
              ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีกนักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
             บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
              การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
              การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
              การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
              การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
          4.ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
             ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และสารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน  สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ 
2.Data  หมายถึง?
ตอบ   ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) 
ในการนำข้อมูลไปใช้นั้น  เรามีระดับโครงสร้างของข้อมูลดังนี้

โครงสร้างข้อมูล
(Data Structure)
บิต (Bit)คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character)ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z
และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
ฟิลด์ (Field)ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์
เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
เรคคอร์ด (Record)ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด
เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูลได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน
เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด
เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
ฐานข้อมูล (Database)คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน
เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น




 
3.Information  หมายถึง?
ตอบ   สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้านกระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป   เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย 
            1.ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
            2.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
            3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
            4.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
            5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

4.Input Device มีอะไรบ้าง
ตอบ   อุปกรณ์อินพุต (Input device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลก ภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์
           อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ จากภายนอกเครื่องได้ อันได้แก่ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน และข้อมูลที่ต้องใส่เข้าไปพร้อมกับโปรแกรม เพื่อส่งไปให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ จอยสติก จอสัมผัส ปากกาแสง กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เป็นต้น

5.Output Device  มีอะไรบ้าง
ตอบ   อุปกรณ์เอาต์พุต (Output device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่โลกภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องเจาะบัตร จอภาพ เครื่องพิมพ์ 
           อุปกรณ์นำข้อมูลออก หรืออุปกรณ์แสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่ภายนอกตัวเครื่องได้ หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้ทำการประมวลผลแล้ว ก็จะต้องมีวิธีในการนำผลลัพธ์ออกมาแสดง ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์แสดงผลนี้ ออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวรทางด้านกราฟิก เช่น พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น 
6.แฮนไดรฟ์,ทัมบ์ไดรฟ์,แฟลชไดรฟ์,แฮนดี้ไดรฟ์  แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   แฟลชไดรฟ์  เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์98/ME/2000/XP/Vista/7 
           แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปัจจุบันชื่อสากล จะเรียกว่าแฟลชไดรฟ์
           ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ (รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่
           - คีย์ไดรฟ์ (key drive)
           - จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าของเล็กซาร์
           - ดาต้าคีย์ (data key)
           - ดาต้าสติ๊ก (data stick)
           - ทราเวลไดรฟ์ (travel drive) เครื่องหมายการค้าของ เมโมเร็กซ์
           - ทัมบ์ไดรฟ์ (ThumbDrive) เครื่องหมายการค้าของ เทร็ค
           - ทัมบ์คีย์ (thumb key)
           - เพนไดรฟ์ (pen drive)
           - ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
           - แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
           - แฟลชดิสก์ (flash disk)
           - เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
           - ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
           - ยูเอสบีคีย์ (usb key)
           - แฮนดีไดรฟ์ (handy drive)